Chat with us, powered by LiveChat

Visit Us in Thailand in your Area. Professional Lawyers Will Piont You in the right direction.

Lawyers in your Area

Bangkok 

[Bang Bon] [Bang Khae] [Bang Kapi] [Bang Khen] [Bang Kho Laem] [Bang Khun Thian] [Bang Na]

[Bang Phlat] [Bang Rak] [Bang Sue] [Bangkok Noi] [Bangkok Yai] [Bueng Kum] [Chatuchak] [Chom Thong]

[Din Daeng] [Don Mueang] [Dusit] [Huai Khwang] [Khan Na Yao] [Khlong Sam Wa] [Khlong San]

[Khlong Toei] [Lak Si] [Lat Krabang] [Lat Phrao] [Min Buri] [Nong Chok] [Nong Khaem] [Pathum Wan]

[Phasi Charoen] [Phaya Thai] [Phra Khanong] [Phra Nakhon] [Pom Prap Sattru Phai] [Prawet] [Rat Burana]

[Ratchathewi] [Sai Mai] [Samphanthawong] [Saphan Sung] [Sathon] [Suan Luang] [Taling Chan] 

[Thawi Watthana] [Thon Buri] [Thung Khru] [Wang Thonglang] [Watthana] [Yan Nawa]

 

Western of Thailand
[Kanchanaburi] [Tak] [Prachuap khiri khan] [Phetchaburi] [Ratchaburi] 


Northern  of Thailand
[Chiang Rai] [Chiang Mai] [Nan] [Phayao] [Phrae] [Mae Hong Son] [Lampang] [Lamphun] [Uttaradit]


Central of Thailand

[Kamphaeng Phet] [Chai Nat] [Nakhon Nayok] [Nakhon Pathom] [Nakhon Sawan] [Nonthaburi]
[Pathum Thani] [Ayutthaya] [Phichit] [Phitsanulok] [Phetchabun] [Lop Buri] [Samut Prakan]
[Samut Songkhram] [Samut Sakhon] [Saraburi] [Singbury] [Sukhothai] [Suphan Buri] [Ang Thong]
[Uthai Thani]


Northeast of Thailand
[Kalasin] [Khon Kean] [Chai Yaphum] [Nakhon Phamom] [Nakhon Ratchasima] [Bueng Kan] [Buriram] [Mahasarakham] [Mukdahan] [Yasothon] [Roi Et] [Loei] [Srisaket] [Sakonnakhon] [Surin] [Nongkhai] [Nongbualamphu] [Amnatcharoen] [Udonthani] [Ubonrachathani] 


Southern of Thailand
[Krabi] [Chum Phon] [ Trang] [Nakhon si thammarat] [Narathiwat] [Pattani] [Phang Nga] [Phatthalung] [Phuket] [Yala] [Ranong] [Songkhla] [Satun] [Suratthani]


Eastern of Thailand
[Chanthaburi] [Chachoengsao] [Chon Buni] [Trat] [Prachinburi] [Rayong] [Sra Kaeo]

เตรียมตัวไปศาลยุติธรรม

 

1.    ไปศาลควรปฏิบัติตนอย่างไร

2.    พนักงานต้อนรับประจำศาล (เสื้อสีฟ้า) ให้ความช่วยเหลือในด้านใดบ้าง

3.    เมื่ออยู่ในห้องพิจารณาคดีต้องปฏิบัติตนอย่างไร

4.    ข้อควรปฏิบัติเมื่อได้รับหมายศาล

5.    ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายเรียกให้ไปเบิกความ

6.    การเบิกความคืออะไร

7.    เบิกความเท็จมีความผิดหรือไม่

8.    คำแนะนำ 10 ประการในการแต่งตั้งทนายความ

9.    การเริ่มต้นฟ้องคดีจะฟ้องที่ศาลใด

10.    ผู้ที่จะฟ้องคดีได้แก่ใครบ้าง

11. การยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษาทำอย่างไร

12. การเตรียมตัวไปศาลในฐานะจำเลยคดีแพ่ง

13. เมื่อรู้ตัวว่าถูกฟ้อง ควรทำอย่างไร

14. จำเลยที่ถูกฟ้องต่อศาลแล้วมีสิทธิ์ ดังนี้

15. ข้อควรปฏิบัติเมื่อถูกฟ้องในคดีอาญา

16. การเตรียมตัวไปศาลในฐานะจำเลยคดีอาญา

17. จะยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวต่อศาลได้เมื่อใด

18. ศาลมีหลักเกณฑ์อย่างไรในการพี่นาคำร้องขอปล่อยชั่วคราว

19. สิ่งที่ควรรู้หากถูกทวงหนี้

 

 

1.    ไปศาลควรปฏิบัติตนอย่างไร

เมื่อเข้าไปในเขตศาลควรปฏิบัติตนดังนี้

  • ห้ามนำอาวุธ ยาเสพติดและสิ่งผิดกฎหมายทุกชนิด เข้าไปในเขตศาล มิฉะนั้นอาจมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลและอาจถูกดำเนินคดีอาญาด้วย
  • ห้ามส่งเสียงดังทะเลาะวิวาทกันในศาลไม่เปิดประตูเข้าเข้าออกออกห้องพิจารณาขณะที่ศาลนั่งบัลลังก์ให้เป็นที่รำคาญแก่ผู้อื่น
  • ห้ามบันทึกภาพเสียงหรือบันทึกวิดีโอโดยไม่ได้รับอนุญาต
  • ห้ามสูบบุหรี่
  • ห้ามพูดคุยกันห้ามนั่งหลับในห้องพิจารณา
  • ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือ

2.    พนักงานต้อนรับประจำศาล (เสื้อสีฟ้า) ให้ความช่วยเหลือในเรื่องใดบ้าง

               ทุกวันนี้หากท่านใดมีโอกาสไปติดต่อราชการที่ศาลยุติธรรมทุกแห่งทั่วประเทศ ก็จะได้พบกับพนักงานต้อนรับประจำศาลยุติธรรมที่สวมเสื้อเครื่องแบบสีฟ้าที่มีป้ายชื่อติดอยู่บริเวณหน้าอกด้านซ้ายยืน คอยให้การต้อนรับพร้อมตอบข้อซักถามและคอยบริการ ให้คำแนะนำประชาชนในการติดต่อราชการศาล เช่นให้คำปรึกษากรณีการขอยื่นประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย พร้อมทั้งช่วยอำนวยความสะดวกในด้านอื่นๆ ซึ่งมีหลัก “บริการด้วยรอยยิ้ม จากใจศาลยุติธรรม”

               เมื่อประชาชนเดินเข้ามาในบริเวณศาล พนักงานต้อนรับประจำศาลยุติธรรมจะเป็นผู้ที่เข้าไปหาประชาชนด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม สอบถามอย่างเป็นกันเอง เกี่ยวกับกิจธุระที่ประชาชนมาติดต่อราชการศาล แล้วชี้แนะและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนหรือหากจำเป็นต้องแนะนำให้ประชาชนไปติดต่อในส่วนอื่นก็จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับที่ต้องไปติดต่ออย่างชัดเจน พร้อมกับแจ้งข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับวัตถุประสงค์การมาติดต่อราชการศาลของประชาชนกับเจ้าหน้าที่ ในส่วนที่ดำเนินการเกี่ยวกับกิจธุระที่ประชาชนมาติดต่อขอรับบริการเพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้รับทราบโดยไม่ต้องซักถามซ้ำอีกทำให้การติดต่อราชการศาลสามารถดำเนินการได้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

 

3.    เมื่ออยู่ในห้องพิจารณาคดี ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร

การปฏิบัติตนเมื่อเข้าไปในหูพี่นาคดี ควรปฏิบัติตนดังนี้

  • ขณะที่ศาลออกนั่งพี่นาคดีผู้ที่อยู่ในห้องพี่นาคดีต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อย
  • เมื่ออยู่ในห้องพี่นาคดีต้องสำรวมเมื่อศาลขึ้นหรือลงบัลลังก์ต้องลุกขึ้นทำความเคารพ
  • ขณะนั่งฟังการพิจารณาคดีต้องสำรวม สุภาพ ไม่พูดคุยกัน ไม่นั่งหลับ ไม่นั่งไขว่ห้าง ไม่สูบบุหรี่ ไม่อ่านหนังสือพิมพ์ ไม่สวมแว่นตาดำ ไม่รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่ม
  • เมื่อศาลอ่านรายงานกระบวนพี่นาคดีใดผู้เกี่ยวข้องคดีนั้นต้องลุกขึ้นยืนฟัง หากบุคคลใดมีข้อความจะแถลงต่อศาลต้องลุกขึ้นยืนพูดห้ามนั่งพูด

 

4.    ข้อควรปฏิบัติเมื่อได้รับหมายศาล

อันดับแรกที่ควรทำคือควรตรวจสอบว่าเป็นไม้ชนิดใดและเกี่ยวข้องกับสารใดเนื่องจากหมายศาลมีหลายประเภทได้แก่

  • หมายนัดเป็นไม้ที่ให้ไปศาลตามนัดเวลาที่กำหนด
  • หมายเรียกเป็นหมายที่ส่งไปพร้อมกับสำเนาคำฟ้อง เพื่อให้จำเลยแก้คดีภายในกำหนด นับแต่วันที่ได้รับ

หมายเรียกและสำเนาคำฟ้องในคดีแพ่ง ส่วนคดีอาญาที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีชั้นศาล ในกรณีที่ราษฎรเป็น

 

โจทก์ฟ้องเองหากศาลไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีมีมูลศาลจะประทับรับฟ้องไว้หากเป็นกรณีที่ยังไม่ได้ตัวจำเลยมาศาลศาลอาจจะออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลเพื่อจะได้ดำเนินกระบวนพี่นาคดีต่อไป

  • คำสั่งเรียกเอกสารเป็นหมายคำสั่งเรียกและเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งบุคคลภายนอกของทางราชการหรือของเจ้าหน้าที่ และคู่ความฝ่ายหนึ่งต้องการใช้เอกสารนั้นเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีของคู่ความนั้น จึงได้ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกให้ผู้ครอบครองเอกสารนั้นส่งเอกสารให้แก่ศาลด้วยตนเองหรือจัดส่งทางไปรษณีย์ก็ได้
  • หมายเรียกให้มาเป็นพยานเบิกความต่อศาลตามวันและเวลาที่กำหนดในหมาย

5.    ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายเรียกให้ไปเบิกความ

1.      เมื่อได้รับหมายเรียกควรดูอย่างรอบคอบว่าเป็นหมายของศาลใดศาลนั้นตั้งอยู่ที่ใดต้องไปเบิกความในวันและเวลาใดหากมีข้อสงสัยควรโทรศัพท์สอบถามไปยังศาลตามหมายเลขโทรศัพท์และที่อยู่ด้านล่างของหมายเรียก

2.      ไปศาลตามวันและเวลานัด แต่หากมีความจำเป็นไม่อาจไปศาลตามกำหนดได้ต้องรีบแจ้งให้ศาลทราบก่อนวันนัดเพราะการขัดคืนไม่ไปศาลอาจถูกศาลออกหมายจับเพื่อเอาตัวไปกัดขังไว้จนกว่าจะเบิกความและยังถือว่าเป็นความผิดต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 1000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

3.      ตรวจหมายเลขห้องพี่นาคดีและรอการเบิกความในห้องพี่นาคดีจึงควรนำหมายเรียกติดตัวไปศาลด้วยเพื่อความสะดวกในการติดต่อสอบถามและเมื่อมาถึงศาลแล้วให้หาห้องพี่นาคดีโดยอาจสอบถามจากพนักงานต้อนรับประจำศาลหรือเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์หรือป้ายอักษรวิ่งจอคอมพิวเตอร์ในศาลนอกจากนี้ควรนำหลักฐานประจำตัวเช่นบัตรประจำตัวประชาชนติดตัวไปด้วยเพื่อใช้ยืนยันตน

4.      ก่อนเบิกความพยานต้องสาบานตนตามลัทธิศาสนาที่ตนนับถือหรือปฏิญาณว่าจะให้การตามความสัตย์จริงเสียก่อน ยกเว้นบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี บุคคลที่ศาลเห็นว่าหย่อนความรู้สึกผิดและชอบพระภิกษุหรือสามเณรในพุทธศาสนาและบุคคลที่คู่ความทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าไม่ต้องสาบาน ผู้ที่ขัดคืนคำสั่งของศาลที่ให้สาบานหรือให้ปฏิบัติปฏิญาณจะมีความผิดต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1000 บาท

 

6.    การเบิกความคืออะไร

               การที่บุคคลไปให้ข้อมูลแก่ศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีเพื่อให้ศาลใช้ข้อมูลที่ได้รับประกอบการพิจารณาคดีพิพากษานั้น โดยการให้ข้อมูลดังกล่าวจะทำด้วยการให้บุคคลที่ไปเบิกความตอบคำถามข่าวสารหรือของคู่ความแต่ละฝ่าย

               พยานควรเบิกความเฉพาะเท่าที่ตนได้เห็นได้ยินหรือได้ทราบโดยตรงเท่านั้นและต้องเบิกความด้วยวาจาและห้ามพยานอ่านข้อความที่จดหรือเขียนมาเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลหากเหตุการณ์ที่พยานไม่แน่ใจหรือจำไม่ได้ให้ตอบไปแบบตรงตรงว่าพยานไม่แน่ใจหรือจำไม่ได้ถ้าพยานฟังคำถามของคู่ความหรือทนายความไม่ชัดเจนพยานอาจขอให้คู่ความหรือทนายความทวนคำถามใหม่ได้

               เมื่อเบิกความเสร็จแล้ว ศาลจะอ่านคำเบิกความที่บันทึกให้แก่พยานฟัง ถ้าพยานเห็นว่ามีข้อความใดไม่ตรงกับที่ได้เบิกความไว้ พยานก็สามารถทักท้วงขอแก้ไขได้ หากข้อความดังกล่าวถูกต้องทั้งหมดแล้วศาลจะให้พยานลงลายมือชื่อชื่อไว้ท้ายคำเบิกความและเป็นอันเสร็จสิ้นการเป็นพยาน

 

7.    เบิกความเท็จจะมีความผิดหรือไม่

               การเบิกความเท็จ เป็นการที่พยานเอาความที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นเท็จมาเบิกความต่อศาล ไม่ว่าพยานผู้นั้นจะได้สาบานหรือปฏิญาณตนก่อนเบิกความหรือไม่ก็ตาม และที่สำคัญ ความเท็จนั้นต้องเป็นข้อมูลสำคัญในคดี ที่จะมีผลต่อการวินิจฉัยของศาลที่จะนำไปสู่การแพ้หรือชนะคดี ผู้เบิกความจะมีความผิดฐานเบิกความเท็จ ทั้งนี้จะต้องเบิกความไปโดยมีเจตนาคือรู้อยู่แล้วว่าข้อความที่ตนเบิกความนั้นเป็นเท็จ การเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 177 ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการเบิกความเท็จในคดีอาญา ต้องระหว่างโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปีและปรับไม่เกิน 14,000 บาท

8.    คำแนะนำ10 ประการในการแต่งตั้งทนายความ

1.      ขอดูใบอนุญาตทนายความ ต้นฉบับผู้ประกอบอาชีพทนายความ ต้องได้รับอนุญาตจากสภาทนายความเท่านั้น

2.      ถามทนายความว่า มีความสัมพันธ์ส่วนได้อะไรหรือเคยทำงานให้กับบุคคลที่จะเป็นคู่ความกับต้นหรือไม่ เพราะหากมีการแต่งตั้งให้เป็นทนายแล้ว ทนายความบางคนอาจจะมีผลประโยชน์ขัดกันในการทำหน้าที่เป็นทนายความให้แก่ลูกความ

3.      สอบถามเรื่องค่าใช้จ่ายในคดีและค่าทนายความ เนื่องจากทนายความมีวิธีการเรียกค่าใช้จ่ายและค่าทนายความไม่เหมือนกัน ซึ่งโดยทั่วไปทนายความจะขอให้ลูกความเล่าเรื่องย่อ แล้วจะให้ความเห็นและแนวทางการปฏิบัติตามกฎหมายก่อนจึงจะกำหนดค่าใช้จ่ายและค่าทนายความ ซึ่งควรสอบถามรายละเอียดหรือข้อสงสัยเพื่อให้ทนายความอธิบายให้ชัดเจนด้วย

4.      เมื่อได้สอบถามปัญหาต่างๆ จนเป็นที่พอใจว่า จะว่าจ้างทนายความคนดังกล่าวแล้ว ก็ควรส่งมอบข้อมูลคดีให้ทนายความดำเนินการโดยให้ทำหลักฐานการรับเอกสารไว้ด้วย

5.      ควรขอให้ทนายความทำหนังสือสัญญาว่าความให้ละเอียดถูกต้องตามที่ได้เจรจากันมา หากมีข้อสงสัยในหนังสือสัญญาข้อใดไม่ชัดเจนก็ขอให้ทนายความชี้แจงและขยายความเพื่อมิให้เป็นปัญหาในภายหลัง

6.      ควรเก็บสำเนาเอกสารที่ส่งมอบให้แก่ทนายความตลอดจนเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับคดีให้เป็นหมวดหมู่เพื่อประโยชน์ในการค้นหาและติดตามคดี

7.      ควรติดตามผลคดีอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะได้มอบหมายให้ทนายความดำเนินการแล้วก็ตาม เพราะผลดีหรือผลเสียแห่งคดีย่อมต้องตกแก่คู่ความตัวลูกความเพียงฝ่ายเดียว โดยให้บันทึกหมายเลขคดีดำและชื่อศาลไว้เป็นหลักฐาน

8.      หากคู่ความฝ่ายตรงข้ามติดต่อมาหรือมีข้อมูลอื่นเพิ่มเติม ต้องรีบแจ้งให้ทนายความทราบทันที เพราะอาจจะเป็นประโยชน์ในการดำเนินคดี

9.      เมื่อมีปัญหาข้อข้องใจเกี่ยวกับคดีให้รีบสอบถามหรือขอคำอธิบายจากทนายความทันทีอย่ามัวแต่เกรงใจเพราะปัญหาข้อข้องใจดังกล่าวอาจทำให้ผลงานของคดีได้รับความเสียหายหรือกลายเป็นปัญหาใหญ่ติดตามมาก็ได

10.   ค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมที่ชำระให้แก่ศาล ศาลจะออกใบเสร็จรับเงินให้ทุกครั้ง หากมีข้อสงสัยควรตรวจสอบใบเสร็จรับเงินจากทนายความ

               หากในใบแต่งตั้งทนายกำหนดให้ทนายมีอำนาจรับเงินจากศาลและคู่ความยังไม่ได้รับเงินคู่ความควรตรวจสอบจากทนายความและศาลว่ามีการรับเงินแทนแล้วหรือไม่

 

9.    การเริ่มต้นฟ้องคดี จะฟ้องที่ศาลใด
               ศาลชั้นต้นเป็นศาลซึ่งรับคำฟ้องหรือคำร้องในชั้นเริ่มต้นคดีหลังจากพิจารณาคดีแล้ว จึงชี้ขาดตัดสินคดีเป็นศาลแรกทั้งมีอำนาจในการดำเนินกระบวนพิจารณาแทนศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาในบางเรื่อง เช่น อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าวทั้งนี้ ศาลชั้นต้นมี 2 ประเภท คือ

a.     ศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาทั่วไปอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ

               ศาลชั้นต้นทั่วไปสำหรับ กรุงเทพมหานคร ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลแพ่งมีนบุรี ศาลอาญามีนบุรี ศาลแพ่งตลิ่งชัน ศาลอาญาตลิ่งชัน ศาลแพ่งพระโขนง ศาลอาญาพระโขนง ศาลแขวงพระนครเหนือ ศาลแขวงพระนครใต้ ศาลแขวงธนบุรี ศาลแขวงดุสิต ศาลแขวงปทุมวันและศาลแขวงดอนเมือง โดยจะต้องพิจารณาที่ประเภทของคดีก่อนว่าอยู่ในเขตอำนาจของศาลใด

1.      สำหรับจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครประกอบด้วยศาลจังหวัดและศาลแขวง

               ศาลจังหวัดมีอำนาจทั่วไปที่จะรับฟ้องคดีได้ทุกประเภททั้งคดีแพ่งและคดีอาญาทั่วไป

               ศาลแขวงมีอำนาจในการรับฟ้องคดีอาญาที่มีความที่เป็นความผิดเล็กน้อยซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกิน 60,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์พิพาทไม่สูงโดยมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนที่ฟ้องไม่เกิน 300,000 บาท

2.     ศาลชำนัญพิเศษ

ศาลชำนัญพิเศษเป็นศาลชั้นต้นที่ใช้วิธีพิจารณาเป็นการเฉพาะตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลและวิธีพิจารณาคดีของศาลนั้นๆ ซึ่งแตกต่างจากศาลชั้นต้นทั่วไป โดยผู้พิพากษาศาลชำนาญพิเศษจะเป็นผู้พิพากษาที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นนั้น

               ศาลชำนาญพิเศษได้แก่ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและศาลการค้าระหว่างประเทศ ศาลภาษีอากร ศาลล้มละลายกลาง  ศาลแรงงานซึ่งปัจจุบันศาลแรงงานมีศาลแรงงานกลางและศาลแรงงานภาค 1- 9 และศาลเยาวชนและครอบครัวซึ่งปัจจุบันมีศาลเยาวชนและครอบครัวกลางและศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดทั่วประเทศ

10. ผู้ที่จะฟ้องคดีได้มีใครบ้าง

ต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล

            บุคคลธรรมดาผู้ที่มีสภาพบุคคลมีสิทธิ์และหน้าที่ตามกฎหมายจึงอาจเป็นโจทก์ฟ้องหรืออาจถูกฟ้องเป็นจำเลยก็ได้

            ผู้เยาว์ถ้าจะฟ้องคดีอาจแยกเป็นสองกรณี คือกรณีผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องคดีแทนผู้เยาว์ หรือกรณีผู้เยาว์ฟ้องคดีเองซึ่งต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบทำก่อน

            นิติบุคคลเป็นบุคคลที่กฎหมายสมมุติขึ้นให้มีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา โดยยกเว้นสิทธิและหน้าที่บางประการที่นิติบุคคลจะมีอย่างบุคคลธรรมดาไม่ได้ การจะเป็นนิติบุคคลได้ต้องมีบัญญัติกฎหมายบัญญัติรับรองไว้ นิติบุคคลได้แก่ บริษัทมหาชนจำกัด บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญ สมาคม มูลนิธิ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา หน่วยราชการ (กระทรวง ทบวง กรม) รัฐวิสาหกิจ มหาวิทยาลัย จังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบลกองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ เป็นต้น ส่วนสิ่งที่ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล เช่น รัฐบาล กลุ่มหรือคณะบุคคล กองมรดก หน่วยราชการ ที่มีฐานะเป็นกอง สำนักสงฆ์ สุเหร่า อำเภอ ชมรม เป็นต้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองให้มีสถานะเป็นนิติบุคคลดังนั้นจึงไม่อาจเป็นโจทก์ฟ้องหรืออาจถูกฟ้องเป็นจำเลยได้

11. การยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษา ทำอย่างไร

               เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว คู่ความที่ไม่พอใจผลคำพิพากษาอาจอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ได้หรือเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษารักษาแล้ว คู่ความที่ไม่พอใจอาจฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาได้ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด เช่น ในคดีแพ่ง ตามปกติจะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้เฉพาะในกรณีที่คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์เกินกว่า 50,000 บาท และจะฎีกาได้เฉพาะในกรณีที่คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเกินกว่า 200,000 บาทเป็นต้น คู่ความที่ประสงค์จะอุทธรณ์หรือฎีกาต้องยื่นอุทรหรือฎีกาต่อศาลที่พิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์แล้วแต่กรณี นอกจากนี้ ในศาลอาญา หากจำเลย ถูกจำคุกอยู่ในเรือนจำจำเลย อาจยื่นอุทรหรือฎีกาต่อพัศดีเรือนจำ ภายในกำหนดอายุอุทธรณ์หรือฎีกา เพื่อให้พัศดีส่งต่อให้ศาลชั้นต้นหรือให้ทนายความของจำเลยยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาต่อศาลแทนตนก็ได้

12. การเตรียมตัวไปศาลในฐานะจำเลยคดีแพ่ง

               ยื่นคำให้การภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องคดีผู้บริโภคคดีมโนสาเร่และคดีไม่มีข้อยุ่งยากจำเลยให้การด้วยวาจาในวันนัดพี่นาคดีได้

กรณีส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยวิธีปิดหมายหรือประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์เริ่มนับระยะเวลาเมื่อผล 15 วันนับแต่วันปิดหรือประกาศโฆษณาจำเลยจึงยื่นคำให้การได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ปิดหรือประกาศโฆษณา

เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกยื่นคำให้การแล้วมิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามที่กฎหมายกำหนดหรือตามคำสั่งศาลถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ

หมายเหตุเมื่อบุคคลใดถูกฟ้องเป็นจำเลยควรปรึกษาและแต่งตั้งทนายความ

หากวันครบกำหนดยื่นคำให้การตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดนักขัตฤกษ์สามารถยื่นคำให้การในวันทำการถัดไปได้

 

13. เมื่อรู้ตัวว่าถูกฟ้อง ควรทำอย่างไร

               1. เมื่อถูกฟ้องเป็นจำเลยควรปรึกษาทนายความและแต่งตั้งทนายความเพื่อว่าความและดำเนินการทางศาลแทน

               2. เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การจะต้องยื่นคำให้การภายในกำหนด

               3. การนับระยะเวลายื่นคำให้การ จะเริ่มนับตั้งแต่วันที่จำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง หรือบุคคลอื่นที่มีอายุเกิน 20 ปี ซึ่งอยู่ทำงานในบ้านหรือที่ทำงานเดียวกันกับจำเลยรับหมายเรียกหรือสำเนาคำฟ้องแทน แต่หากเป็นกรณีส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยด้วยการปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ที่บ้านหรือที่ทำงานของจำเลยหรือประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ การนับระยะเวลาจะเริ่มนับเมื่อผล 15 วัน นับแต่วันปิดหรือวันประกาศโฆษณากล่าวง่ายๆก็คือ จำเลยได้เวลาเพิ่มอีก 15 วัน ซึ่งถ้าจำเลยไม่สามารถยื่นคำให้การภายในกำหนดได้ก็อาจจะยื่นคำร้องขอให้ศาลขยายเวลายื่นคำให้การได้ โดยต้องมีเหตุผลพิเศษอ้างเหตุที่ขอขยายระยะเวลานั้น จากนั้นจึงเป็นดุลพินิจของศาลที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาต

14. จำเลยที่ถูกฟ้องต่อศาลแล้วมีสิทธิ์ ดังนี้

1.      แต่งตั้งทนายความเพื่อแก้ต่างในฉันไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น ตลอดจนชั้นศาลอุทธรณ์และฎีกา

2.      ปรึกษาทนายความหรือผู้ที่จะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว

3.      ตรวจสอบตรวจดูสำนวนการไต่สวนมูลฟ้องหรือพี่นาของศาลคัดสำเนาหรือขอสำเนาที่มีการรับรองว่าถูกต้องโดยเสีย        ค่าธรรมเนียม

4.      ตรวจดูสิ่งที่ได้ยื่นเป็นพยานหลักฐานและคัดสำเนาหรือถ่ายภาพสิ่งนั้นๆ

5.      ตรวจหรือคัดสำเนาคำให้การของตนในชั้นสอบสวนหรือเอกสารประกอบคำให้การของตน ทั้งนี้หากมีทนายความ ทนายความย่อมมีสิทธิ์เดียวกับจำเลยตามที่กล่าวมาแล้วด้วย

6.      ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว

7.      คัดค้านผู้คณะผู้พิพากษา

15. ข้อควรปฏิบัติเมื่อถูกฟ้องในคดีอาญา

1.      เมื่อถูกฟ้องเป็นจำเลยควรปรึกษาทนายความและแต่งตั้งทนายความเพื่อว่าความและดำเนินคดีทางศาลแทน

2.      เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การ จะต้องยื่นคำให้การภายในกำหนด

3.      การนับระยะเวลายื่นคำให้การ จะเริ่มนับตั้งแต่วันที่จำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง หรือบุคคลอื่นที่มีอายุเกิน 20 ปี ซึ่งอยู่ทำงานในบ้านหรือที่ทำงานเดียวกับจำเลย รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแทนแต่หากเป็นกรณีส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยโดยการปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ที่บ้านหรือที่ทำงานของจำเลย หรือประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ การนับระยะเวลาจะเริ่มนับเมื่อพ้น 15 วันนับแต่วันปิดหรือวันประกาศโฆษณา     กล่าวง่ายๆ ก็คือ จำเลยได้เวลาเพิ่มอีก 15 วันซึ่งถ้าจำเลยไม่สามารถยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาได้ ก็อาจจะยื่นคำร้องขอให้ศาลขยายระยะเวลายื่นคำให้การได้โดยต้องมีเหตุผลพิเศษอ้างเหตุที่ขอขยายระยะเวลานั้น      จากนั้นจึงเป็นดุลพินิจของศาลที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาต

4.      เตรียมหลักประกันเพื่อยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวต่อศาล

5.      จะต้องมาศาลตามกำหนดนัด

               หากมีข้อสงสัยให้โทรศัพท์สอบถามเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของศาลที่จำเลยถูกฟ้อง

 

16. การเตรียมตัวไปศาลในฐานะจำเลยคดีอาญา

นำหมายนัดหรือหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปด้วย

เตรียมสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชน

เตรียมหลักทรัพย์เพื่อประกันตัวโดยให้สอบถามราคามาตรฐานกลางในการประกันต่อศาลนั้นนั้นก่อน

แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย

หมายเหตุ เมื่อบุคคลใดถูกฟ้องเป็นจำเลยควรปรึกษาแล้วแต่งตั้งทนายความ

17. จะยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวต่อศาลได้เมื่อใด

1.      เมื่อตกเป็นผู้ต้องหาและยังไม่ได้นำตัวมาฝากขังต่อศาลให้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวต่อพนักงานสอบสวน

2.      เมื่อตกเป็นผู้ต้องหาและพนักงานสอบสวนนำตัวมาฝากขังต่อศาลให้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวต่อศาล

3.      เมื่อตกเป็นจำเลย
โดยพนักงานอัยการนำตัวไปฟ้องศาล
ในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ ศาลไต่สวนมูลฟ้องแล้วคดีมีมูลและศาลประทับรับฟ้อง

4.      เมื่อถูกครั้งตามหมายศาล เช่น จำเลยที่หลบหนีไปและถูกศาลออกหมายจับ ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยได้ หรือกรณีที่พยานไม่มาศาลและถูกศาลออกหมายจับ หรือจำเลยต้องคำพิพากษาให้จำคุกหรือกักขัง และคดีมีสิทธิ์อุทธรณ์ฎีกาได้

 

18. ศาลมีหลักเกณฑ์อย่างไรในการพี่นาคำร้องขอปล่อยชั่วคราว

               การวินิจฉัยคำ ร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลจะพิจารณาข้อเหล่านี้ประกอบ ดังนี้

                                                    i.     ความหนักเบาแห่งข้อหา

                                                   ii.     พยานหลักฐานที่นำสืบมาแล้ว มีเพียงใด

                                                  iii.     พฤติการณ์ต่างๆแห่งคดีเป็นอย่างไร

                                                  iv.     ความน่าเชื่อถือของผู้ร้องขอประกันและหลักประกันมีเพียงใด

                                                   v.     ผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะหลบหนีหรือไม่

                                                  vi.     ภัยตรายหรือความเสียหายที่เกิดจากการปล่อยชั่วคราวมีหรือไม่ เพียงใด

                                                vii.     ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องขังตามหมายศาลถ้ามีคำคัดค้านของพนักงานสอบสวนพนักงานอัยการโจทก์แล้ว แต่กรณีศาลเพิ่งรับประกอบการวินิจฉัยได้ (ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 10 ปี ศาลจะต้องสอบถามพนักงานสอบสวนพนักงานอัยการ หรือโจทก์ว่าจะคัดค้านประการใดหรือไม่

19. สิ่งที่ควรรู้หากถูกทวงหนี้

               เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ เจ้าหนี้ฟ้องเรียกชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยทางศาลได้ เมื่อมีคำพิพากษาแล้วถึงจะสามารถบังคับใช้หนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ นอกจากนี้หากมีการทวงหนี้ ผู้ถูกทวงหนี้จะต้องมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับ การกู้ยืมเงินเท่านั้น เช่น ลูกหนี้ ลูกหนี้ร่วม หรือผู้ค้ำประกัน ดังนั้นการไปข่มขู่ คุกคาม ญาติ พี่น้อง เพื่อนฝูง หรือผู้เกี่ยวข้องกับลูกหนี้อาจเป็นความผิดฐาน กรรโชกทรัพย์ แต่หากการทวงหนี้ เป็นการข่มขู่ ด้วยวาจา หยาบคาย ทำร้ายร่างกาย กักขัง หรือทำการรบกวนชีวิตประจำวันต่อลูกหนี้ หรือสมาชิกในครอบครัว รวมถึงเพื่อน ผู้ถูกทวงหนี้ก็มีสิทธิ์แจ้งความดำเนินคดีกับกลุ่มคนเหล่านั้นได้ทันทีและถ้ามีการทำร้ายบาดเจ็บหรือกักขังหน่วงเหนี่ยว ผู้ทวงหนี้ ก็จะต้องถูกรับโทษอาญา ฐานดูหมิ่นทำร้ายร่างกาย หรือทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ แล้วแต่กรณี รวมถึงการทวงหนี้ ด้วยวิธีการก้าวร้าว หรือจงใจประจาน ทำให้เเสียชื่อเสียงด้วยวิธีต่างๆอาจเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทได้ ทั้งนี้เมื่อเป็นหนี้ก็มีหน้าที่ต้องชำระการเป็นหนี้ไม่สร้างผลดีให้กับใคร การอยู่อย่างพอเพียงกิน – ใช้อย่างประหยัดก็จะทำให้ชีวิตเป็นสุข

 

Visitors: 86,698